อีเมล์ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
วิสัยทัศน์/พันธกิจ
1.กายภาพ
องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้า ได้รับการยกฐานะจากสภาตำบลเป็นองค์การบริหารส่วน ตำบลเกาะสะบ้า เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2539
ที่มาของชื่อ "เกาะสะบ้า"
ความหมายของคำว่า "เกาะสะบ้า" คำว่า เกาะ หมายถึง ที่ดินที่มีน้ำล้อมรอบ และอีกนัยหนึ่งซึ่งเป็นความหมายของคนท้องถิ่น หมายถึง สุมทุมพุ่มไม้ที่ล้อมรอบต้นสะบ้า "สะบ้า" เป็นชื่อของพืชชนิดหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเป็นเถาวัลย์ ภาษาท้องถิ่นเรียกว่า "ย่าน" หรือ "ย่านสะบ้า" พืชชนิดนี้อาศัยไม้ยืนต้นเป็นหลักในการดำรงลำต้นของตน ฉะนั้น ความหมายของคำว่า "เกาะสะบ้า" หมายถึง สุมทุมพุ่มไม้ที่มีย่านสะบ้าขึ้นปกคลุม ผลของสะบ้าเป็นฝัก เมล็ดในฝัก คนนิยมนำมาเป็นวัสดุการเล่น เรียกว่า เล่นสะบ้า ซึ่งสมัยโบราณเล่นเป็นกีฬาพื้นบ้านทั่วไป
     1.1 ที่ตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้า ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอเทพา ระยะห่างจากตัวอำเภอเทพา 12 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งสิ้น 56,980 ไร่ หรือเท่ากับ 91.258 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
     ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านเก๊ะจิขององค์การบริหารส่วนตำบลสะกอม และอ่าวไทย
     ทิศใต้ ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลเทพา และองค์การบริหารส่วนตำบลวังใหญ่
     ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อ่าวไทย และ องค์การบริหารส่วนตำบลเทพา
     ทิศตะวันตก ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลวังใหญ่ และองค์การบริหารส่วนตำบลสะกอม

แผนที่ตั้งและอาณาเขตตำบลเกาะสะบ้า
1.2 ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่ของตำบลเกาะสะบ้า เป็นที่ราบเชิงเขา และส่วนตอนเหนือเป็น ที่ราบชายฝั่ง พื้นที่บางส่วนเป็นทุ่งโล่งและมีป่าไม้ธรรมชาติค่อนข้างสมบูรณ์ เนื่องจากเป็นที่ราบเชิงเขา อุณหภูมิอากาศค่อนข้างคงที่ มีอากาศไม่ร้อนจนเกินไป ปริมาณฝนแต่ละเดือนแตกต่างกันไปตามฤดูมรสุม มีปริมาณฝนตกน้อยในระยะ 1-3 เดือน พื้นที่ส่วนใหญ่ เป็นสวนยางพารา

1.3 ลักษณะภูมิอากาศ
ตำบลเกาะสะบ้ามีภูมิอากาศ 2 ฤดู คือ
1) ฤดูฝน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม – มกราคม เป็นระยะเวลา 9 เดือน แบ่งเป็น 2 ระยะ คือระยะแรก ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม – กันยายน ช่วงนี้จะมีฝนตกน้อย ระยะที่สอง ตั้งแต่เดือนตุลาคม – มกราคม ช่วงนี้ฝนตกชุกและมีประมาณมาก
2) ฤดูร้อน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน ได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ เป็นลมอ่อนและชั้นอุณหภูมิไม่สูงมากนัก

1.4 ลักษณะของดิน
ลักษณะสภาพดินส่วนใหญ่ของตำบลเกาะสะบ้าเป็นดินลูกรังบริเวณภูเขาและดินปนทราย บริเวณชายทะเล